นิทานชาดก – ยอดหญิงกตัญญู

สาเหตุที่ตรัสชาดก :: …..สมัยพุทธกาล ณ แคว้นโกศล มีโจรกลุ่มหนึ่งปล้นสะดมชาวบ้านแล้วหนีไป ชาวบ้านจึงพากันหาโจรจนมาถึงหมู่บ้านชายแดนแห่งหนึ่ง พบชาย ๓ คนกำลังไถนาอยู่ จึงคิดว่าเป็นโจรปลอมเป็นชาวนา จึงจับกุมทุบตีแล้วคุมตัวมาถวายพระเจ้าโกศล …..ต่อมา ได้มีหญิงวัยกลางคนคนหนึ่ง เดินร้องให้รำพันรอบๆ พระราชวัง ขอพระราชทานเครื่องนุ่งห่ม ความทราบถึงพระเจ้าโกศล พระองค์มีรับสั่งให้นำผ้าสาฎกไปมอบให้แก่นาง แต่นางกลับยิ่งร้องไห้หนักขึ้นและกล่าว “ขอพระราชทานเครื่องนุ่งห่ม คือสามี” …..ราชบุรุษจึงนำนางไปเข้าเฝ้า พระเจ้าโกศลได้ทรงซักถาม นางจึงว่า “สามีชื่อว่าเครื่องนุ่งห่มของหญิง เมื่อไม่มีสามี แม้จะนุ่งห่มผ้าราคาตั้ง ๑,๐๐๐ กษาปณ์ ก็ชื่อว่าหญิงเปลือยอยู่นั่นเอง แม่น้ำไม่มีน้ำ ชื่อว่าเปลือย แว่นแคว้นไม่มีราชา ชื่อว่าเปลือย หญิงปราศจากสามี ถึงจะมีพี่น้องตั้ง ๑๐ คน ก็ชื่อว่าเปลือย” …..พระเจ้าโกศลเกิดเลื่อมใสจึงตรัสคืนชายหนึ่งคนให้ นางจึงขอพี่ชายและให้เหตุผลว่า ถ้ายังมีชีวิตย่อมหาสามีใหม่และมีบุตรใหม่ได้ แต่บิดามารดาได้สิ้นชีวิตไปแล้ว ไม่อาจจะมีพี่ชายได้อีก พระเจ้าโกศลเห็นความฉลาดของนางจึงโปรดไว้ชีวิตชายทั้งสาม …..เรื่องดังกล่าวเลื่องลือแม้กระทั่งในหมู่ภิกษุ ความทราบถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงระลึกชาติหนหลังด้วยบุพเพนิวาสานุสติญาณ แล้วตรัสเล่า อุจฉังคชาดก ——————————————– :: ข้อคิดจากชาดก :: ๑. ผู้ที่มีหน้าที่ปราบปราม นำคนผิดมาลงโทษ ควรพิจารณาอย่างรอบคอบ อย่าจับคนด้วยเพียงการคาดคะเน เพราะการลงโทษคนบริสุทธิ์เป็นบาปอย่างยิ่ง การปล่อยคนผิดไป ๑๐๐ คน ยังดีกว่าการลงโทษคนบริสุทธิ์เพียงคนเดียว …..๒. คนเราควรหาโอกาส “ตอบแทนคุณ” ของผู้ที่มีพระคุณต่อเราอยู่เสมอ …..๓. ผู้ที่รู้บุญคุณและตอบแทนบุญคุณ ย่อมไม่ถึงความตกต่ำอย่างแน่นอน …..๔. ผู้ที่ตั้งมั่นอยู่ในหลักธรรม แม้ความตายมาถึงตัว ก็มีสติตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว สามารถเผชิญความตายโดยอาจหาญ ย่อมเป็นผู้ที่ “ประสบสุขได้แม้ในยามทุกข์” …..๕. พี่น้องกันนั้น “ฆ่ากันไม่ตาย ขายกันไม่หมด” แม้จะมีเรื่องผิดใจกันอย่างไร แต่เมื่อมีเรื่องเดือดร้อน ย่อมพึ่งพากันได้

นิทานชาดก – กลโกงพ่อค้า

กลโกงพ่อค้า
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วันเชตุวัน เมืองสาวัตถีได้ปรารภถึงพ่อค้าโกงผู้หนึ่ง ได้ตรัสอดีตนิทานชาดกมาเล่าว่า กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพ่อค้าอยู่เมืองพาราณสีมีชื่อว่า บัณฑิต เขาได้เข้าหุ้นทำการค้ากับพ่อค้าคนหนึ่งชื่อว่า อติบัณฑิต วันหนึ่งพ่อค้าทั้งสองชวนกันบรรทุกสินค้าด้วยเกวียน 500 เล่มไปขายที่ชายแดนแห่งหนึ่ง ได้กำไรกลับมาอย่างงาม เมื่อกลับมาถึงเมืองพาราณสีแล้ว ถึงเวลาแบ่งเงินกัน นายอติบัณฑิตบอกกับเพื่อนว่า
“นี่เพื่อนรัก เราว่าเราควรได้ส่วนแบ่งสองส่วนนะ”
“ทำไมล่ะเพื่อน”
พระโพธิสัตว์ในร่างพ่อค้าบัณฑิตถาม
“ก็เพราะเจ้าชื่อบัณฑิตเฉย ๆ ควรได้ส่วนเดียว ส่วนเราชื่ออติบัณฑิตก็ควรจะได้สองส่วน”
อติบัณฑิตตอบ ทำเอาพระโพธิสัตว์ถึงกับอึ้งไปและบอกว่า
“ทั้งทุนรอน และพาหนะขนของเราสองคนออกเท่าๆ กัน แล้วเวลาแบ่งกันทำไมถึงได้ไม่เท่ากันล่ะ ข้าไม่เข้าใจ”
นายบัณฑิตบอก
“เพื่อความเป็นธรรม เราหาคนกลางมาตัดสินดีกว่า ท่านรุกขเทวดาน่าจะดีที่สุด เราไปหาท่านกันเถอะ”
นายอติบัณฑิตบอกแล้วพานายบัณฑิตไปหารุกขเทวดาที่ต้นไม้ใหญ่แห่งหนึ่งที่ท้าย หมู่บ้าน ซึ่งนายอติบัณฑิตได้ใช่เล่ย์ให้พ่อของตนเองไปแอบอยู่ในโพรงไม้ใหญ่ปลอมเป็น รุกขเทวดา ทั้งสองคนไปคุกเข่าต่อหน้าต้นไม้แล้วพูดขอให้รุกขเทวดาช่วยตัดสินปัญหาให้
“ท่านรุกขเทวดาโปรดช่วยเราสองคนด้วย เรามีปัญหาแบ่งทรัพย์กันไม่ลงตัว”
ทั้งสองคนเล่าเรื่องให้ฟัง พอเล่าจบก็มีเสียงของรุกขเทวดาเปล่งออกมาจากต้นไม้ใหญ่นั้น
“จากเรื่องที่เล่ามา คนชื่ออติบัณฑิตควรได้ 2 ส่วน คนชื่อบัณฑิตควรได้แค่ 1 ส่วน
นายบัณฑิตนั้นไม่ใช่คนโง่ เขาสังเกตเห็นพิรุธหลายอย่าง จึงคิดพิสูจน์ว่ารุกขเทวดาที่ต้นไม้นั้นมีอยู่จริงหรือไม่ อาศัยจังหวะที่นายอติบัณฑิตกลับไปแล้ว ย้อมมาที่ต้นไม้อีกครั้งหนึ่ง
“เดี๋ยวเถอะจะได้รู้กันว่าเป็นเทวดาจริงหรือเทวดาปลอมกันแน่”
นายบัณฑิตคิดจะพิสูจน์ จึงไปเก็บฟืน แล้วนำมากองกันไว้โคนต้นไม้ แล้วจุดไฟเผาในโพรงไม้นั้น พ่อของนายอติบัณฑิตซึ่งอยู่ในนั้นสำลักควัน รีบหนีตายออกมาจากโพรงไม้แทบไม่ทัน เนื้อตัวดำสกปรกน่าตลก
“เกือบถูกเผาแล้วสิเรา”
พ่อนายอติบัณฑิตบ่นพึม ก่อนวิ่งหนีไปด้วยความอับอายที่มีคนจับได้

นิทานชาดกเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน คนเราต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและต่อผู้อื่น อย่าเห็นแก่ได้มากไป จะไม่เป็นผลดีกับตัวเองและคนที่อยู่รอบข้าง

นิทานชาดก – พญาวานรกับจระเข้

ในอดีตกาลนานนับอสงไขยกัป มีวานรโทนตัวหนึ่งอาศัยอยู่ในป่าใหญ่
ใกล้แม่น้ำแห่งหนึ่ง
เมื่อเจริญวัยเต็มที่ ก็เป็นวานรที่มีร่างกายใหญ่โตกำยำ มีเรี่ยวแรงแข็งขันดังพญาช้างสาร ผิดกว่าวานรตัวใดทั้งสิ้น
แม่น้ำสายที่ไหลผ่านป่าแห่งนี้ เป็นแม่น้ำที่กว้างใหญ่มาก มีเกาะกลางน้ำอยู่เกาะหนึ่ง อุดมด้วยผลไม้นานาชนิด สัตว์บกอื่นใดในป่าไม่อาจข้ามไปกินได้ นอกจากวานรตัวนี้เท่านั้น
ถึงแม้พญาวานรจะมีกำลังมาก แต่ก็ไม่สามารถกระโจน
รวดเดียวไปถึงเกาะได้ จำต้องอาศัยโขดหินแผ่นหนึ่ง
กลางลำน้ำ เป็นที่พักเท้ากระโจนข้ามไปอีกทอดหนึ่ง
ในย่านนี้ มีจระเข้ ๒ ตัวผัวเมีย อาศัยอยู่ใกล้ๆ
เกาะ คอยดักจับสัตว์ที่เผลอมากินน้ำเล่นน้ำ
ตามชายฝั่งเป็นอาหารอยู่เนืองๆ
คราวหนึ่งนางจระเข้เกิดแพ้ท้อง นางเหลือบเห็นพญาวานรกระโจนข้ามแม่น้ำไป ทำให้นึกอยากกินหัวใจวานรขึ้นมาทันที จระเข้สามีรับปากจะจับพญาวานรมาให้ แต่เมื่อเห็นความ
คล่องแคล่วว่องไวของพญาวานรแล้วก็ชักท้อใจ
ในที่สุดพญาจระเข้ก็คิดอุบายได้ ในวันรุ่งขึ้น พญาจระเข้ก็คลานขึ้นไปนอนหมอบนิ่งบน
แผ่นหิน ซึ่งพญาวานรใช้เป็นที่กระโดด
พญาจระเข้หมอบนิ่งไม่กระดุกกระดิก รอคอยเวลาที่เหยื่อจะกลับมาจากหากินในตอนเย็นซุกหัวซุกหางอย่างดีด้วยเกรง ว่าจะเป็นพิรุธให้พญาวานรสังเกตได้
พอตกเย็นพญาวานรเที่ยวเก็บผลไม้บนเกาะกินจนอิ่มหนำสำราญดีแล้ว ก็มุ่งหน้ากลับที่อยู่ของตน
แต่เมื่อมองดูแผ่นหินที่ตนใช้กระโดด พญาวานรก็รู้สึกผิดสังเกต
พญาวานรต้องการตรวจสอบให้แน่ใจจึงคิดอุบายโดยแสร้งตะโกนด้วยสำเนียงอันคุ้นเคยออกไปว่า
เท่านี้เอง พญาจระเข้ก็หลงกลเพราะความรู้และความช่างสังเกตมีน้อย
หลงคิดว่าพญาวานรกับแผ่นหินนี้ คงเคยพูดเล่นกันทุกวัน
พญาจระเข้หลงเชื่อว่าพญาวานรจะยอมสละชีวิตแก่ตนจริงๆ จึงอ้าปากคอย โดยลืมคิดถึง ธรรมชาติของตนว่า เมื่ออ้าปากตาก็จะปิดสนิท
ทันทีที่พญาจระเข้อ้าปาก พญาวานรก็เผ่นลิ่วลงเหยียบหัวจระเข้อย่าง
เหมาะเจาะ แล้วถีบตัวข้ามต่อไปยังฝั่งตรงข้ามในชั่วพริบตา
เมื่อพญาวานรกระโดดมายังฝั่งตรงข้ามได้แล้ว พญาจระเข้ก็รู้ตัวว่าหลงกลพญาวานร แต่ก็หวนคิดอัศจรรย์ใจว่า
พญาจระเข้ได้คลายความแค้นเคือง กลับนึกรักในน้ำใจพญาวานร แล้วกล่าวสรรเสริญด้วยความจริงใจ จากนั้นพญาจระเข้ ก็กลับสู่ที่อยู่ของตน ส่วนพญาวานรก็เที่ยวหากินอยู่แต่เฉพาะป่านั้น ไม่ข้ามไปที่เกาะกลางน้ำอีกจนตลอดอายุขัย

นิทานชาดก – นกหัวขวานกับราชสีห์

นกหัวขวานกับราชสีห์

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเวฬุวันเมืองราชคฤห์ ทรงปรารภความอกตัญญูของพระเทวทัต ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นนกหัวขวานอาศัยอยู่ในป่าแห่งหนึ่ง มีราชสีห์ตัวหนึ่งเที่ยวหากินอยู่ในบริเวณเดียวกัน วันหนึ่ง ราชสีห์กินเนื้อด้วยความมูมมามจึงทำให้กระดูกติดคอจนคอบวม มันไม่สามารถจับเหยื่อหากินได้นอนปวดร้าวทรมานอยู่ หลายวันต่อมานกหัวขวานบินเที่ยวหากินไปพบมันเข้าจึงจับกิ่งไม้ร้องถามไปว่า
” ท่านราชสีห์ ท่านนอนร้องครวญครางอยู่ เป็นอะไรหรือ ? ”
” กระดูกติดคอเรานะสิ เรานอนเจ็บปวดทรมานมาหลายวันแล้ว ช่วยเราด้วย ” มันร้องตอบ

นกหัวขวานพูดว่า ” เราอยากจะช่วยท่านอยู่ แต่ไม่กล้าจะเข้าไปในปากท่าน กลัวท่านจะกินเรา” ราชสีห์อ้อนวอนว่า ” ท่านอย่ากลัวไปเลย เราไม่กินท่านดอก ช่วยเราด้วยนะ”

นกหัวขวานใจอ่อนด้วยความกรุณาสงสารราชสีห์จึงรับคำช่วยเหลือ ให้ราชสีห์นอนตะแคงแล้วใช้ท่อนไม้ค้ำปากของมันให้อ้าปากไว้ เพื่อไม่ให้มันหุบปากได้ แล้วเข้าไปในปากราชสีห์ ใช้ปากจิกกระดูกให้เคลื่อนเข้าไปในท้องของมันแล้วจิกท่อนไม้ให้ล้มลง บินขึ้นไปจับบนกิ่งไม้ตามเดิม ทำให้ราชสีห์หมดทุกข์เที่ยวจับเหยื่อกินได้เป็นปกติ

อีกหลายวันต่อมา นกหัวขวานบินหากินไปพบราชสีห์กำลังนอนแทะเนื้ออยู่ คิดจะทดสอบจิตใจของราชสีห์ จึงจับบนกิ่งไม้เหนือราชสีห์นั้นแล้วพูดว่า ” ท่านจอมแห่งไพร ขอแสดงความเคารพ เราเคยได้ช่วยเหลือท่านอย่างหนึ่ง แล้วท่านจะมีอะไรตอบแทนกันบ้างหนอ”

ราชสีห์ตอบว่า ” เจ้านกหัวขวานเอ๋ย ในวันนั้น ขณะที่เจ้าอยู่ในปากของเรา เจ้าเอาชีวิตรอดออกมาได้ก็นับว่าเป็นบุญของเจ้าแล้วละ เจ้าจะเอาอะไรอีก ”

นกหัวขวานได้ฟังเช่นนั้นแล้วกล่าวเป็นคาถาว่า
” ผู้ไม่รู้อุปการคุณที่ผู้อื่นทำแล้ว ผู้ที่ไม่เคยทำความดีอย่างใดอย่างหนึ่งแก่ใคร
ผู้ที่ไม่ตอบแทนอุปการคุณที่ผู้อื่นทำให้แล้ว
น่าตำหนิ ความกตัญญูไม่มีในผู้ใด การคบหาผู้นั้น ก็ไร้ประโยชน์ .
แม้อุปการคุณที่กระทำต่อหน้า มิตรธรรมยังหาไม่ได้ในบุคคลใด
บัณฑิตไม่ริษยา ไม่ด่าบุคคลนั้น พึงค่อย ๆ หลีกห่างออกจากบุคคลนั้นไปเสีย ”

กล่าวจบก็บินหนีเข้าป่าไป

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล
ผู้ไม่รู้บุญคุณที่เขาทำไว้แล้ว ไม่ควรคบสมาคมด้วย



Advertising Zone    Close
 
Online:  1
Visits:  4,221
Today:  3
PageView/Month:  13

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com